ร่วมงานกับเรา
ข่าวสารรถจักรยานยนต์ทั่วไป > 2548 > คลอดกฎเหล็กคุมเข้มวินจยย.แต่งตัวสุภาพกำหนดราคา
คลอดกฎเหล็กคุมเข้มวินจยย.แต่งตัวสุภาพกำหนดราคา
ที่มา - บ้านเมือง วันที่ 21 ต.ค.48

บังคับใช้แล้วกฎเหล็กคุมเข้ม วิน จยย. ระบุ 2 กม.แรกไม่เกิน 25 บาท กิโลถัดไป กม.ละ 5 บาท เกิน 5 กม.ตกลงกันเอง ต้องแต่งกายสะอาด-สุภาพ-เรียบร้อย ปักชื่อ-สกุลเห็นเด่นชัด

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมได้นำเสนอต่อที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 11 ต.ค.48 เพื่อขอออกกฎกระทรวงเพิ่มเติม เกี่ยวกับการจัดระเบียบผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะ และให้ความปลอดภัยต่อผู้โดยสารอย่างเป็นระบบ จำนวน 7 ฉบับ บัดนี้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้นำกฎกระทรวงทั้งหมด ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 ต.ค.48 ลงนามโดย พล.อ.ชัยนันท์ เจริญศิริ รมช.คมนาคม และมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว ทั้งนี้ กฎกระทรวงทั้ง 7 ฉบับ ได้แก่

ฉบับที่ 1 กำหนดขนาดความจุของกระบอกสูบของรถจักรยานยนต์ สำหรับผู้ขอใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว พ.ศ.2548
ฉบับที่ 2 กำหนดค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
ฉบับที่ 3 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตขับรถและการขอต่ออายุและการขออนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. 2548
ฉบับที่ 4 กำหนดเครื่องแต่งกาย เครื่องหมาย ประวัติคนขับรถ บัตรประจำตัวคนขับรถ และการแสดงบัตรประจำตัวคนขับรถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร และรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548
ฉบับที่ 5 กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548
ฉบับที่ 6 กำหนดความปลอดภัยในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสารของผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548 และ
ฉบับที่ 7 ว่าด้วยคณะกรรมการประจำจังหวัดและเงื่อนไขการขอจดทะเบียนรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548 บังคับแต่งกายเรียบร้อย

ทั้งนี้ กฎกระทรวงทั้ง 7 ฉบับ มีสาระที่น่าสนใจหลายประการ อาทิ ฉบับที่ 1 ว่าด้วยการกำหนดขนาดความจุของกระบอกสูบของรถจักรยานยนต์สำหรับผู้ขอใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว พ.ศ. 2548 ได้ระบุข้อ 1 ว่า รถจักรยานยนต์สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวที่มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ ต้องมีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันไม่เกินหนึ่งร้อยสิบลูกบาศก์เซนติเมตร ข้อ 2 ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราวและใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว สำหรับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลที่มีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันไม่เกินเก้าสิบลูกบาศก์เซนติเมตร ที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ สามารถใช้ใบอนุญาตดังกล่าวขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลที่มีขนาดความจุของกระบอกสูบตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ จนกว่าใบอนุญาตนั้นจะสิ้นอายุ ปักชื่อติดอกด้านซ้าย

ฉบับที่ 4 ว่าด้วยกำหนดเครื่องแต่งกาย เครื่องหมาย ประวัติคนขับรถ บัตรประจำตัวคนขับรถ และการแสดงบัตรประจำตัวคนขับรถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการทัศนาจร และรถจักรยานยนต์สาธารณะ มีสาระที่น่าใจ เช่น ข้อ 4 เกี่ยวกับคนขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ระบุว่าต้องแต่งกายให้สะอาด สุภาพ เรียบร้อย รัดกุม ด้วยเครื่องแต่งกาย เสื้อแขนยาวหรือแขนสั้น การสวมเสื้อให้สอดชายล่างของเสื้ออยู่ภายในกางเกง ยกเว้นเสื้อที่โดยสภาพไม่ต้องสอดชายล่างให้อยู่ภายในกางเกง เสื้อกั๊กหรือเสื้อคลุมตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด กางเกงขายาวสุภาพ รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ นอกจากนี้ในขณะขับรถรับจ้าง คนขับต้องติดเครื่องหมาย ชื่อตัวและสกุลของผู้ขับรถยนต์เป็นภาษาไทย ขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 1.50 เซนติเมตร ตัวอักษรต้องเป็นแบบพิมพ์ อ่านได้ง่าย โดยเย็บติดหรือปักไว้ที่อกเสื้อด้านซ้าย สีของตัวอักษรให้ตัดกับสีเสื้อ ทั้งนี้เครื่องหมายดังกล่าวต้องติดให้มองเห็นชัดเจน มิให้มีสิ่งใดปิดบังไว้ กำหนดค่ารถ 2 กม.แรกไม่เกิน 25 บ.

ฉบับที่ 5 การกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548 มีเนื้อหาตามข้อ 1 ระบุว่า ให้กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะดังนี้ (1) ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก ไม่เกิน 25 บาท และกิโลเมตรต่อๆ ไป ไม่เกินกิโลเมตรละ 5 บาท (2) ระยะทางเกินกว่า 5 กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าจ้างบรรทุกโดยสารให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถและคนโดยสารตกลงกัน ส่วนข้อ 2 ให้คณะกรรมการประจำจังหวัดหรือคณะอนุกรรมการประจำท้องที่ ตามมาตรา 23/1 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.รถยนต์ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2547 มีอำนาจกำหนดค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ไม่เกินอัตราตามที่กำหนดในข้อ 1 (1) และกำหนดวิธีการในการแสดงค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร ณ สถานที่รอรับคนโดยสาร เหตุผลการออกกฎกระทรวงฉบับนี้ กระทรวงคมนาคมอ้างว่า ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2547 บัญญัติให้ รมว.คมนาคม มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะได้ ประกอบกับการที่ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะสามารถกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกโดยสารกันเอง อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับคนโดยสาร ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารเกิดความเป็นธรรม และมีอัตราที่เหมาะสมกับการให้บริการในแต่ละพื้นที่ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ระบุห้ามใช้มือขณะขับรถ

นอกจากนี้ ฉบับที่ 6 กำหนดความปลอดภัยในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ของผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548 ระบุเกี่ยวกับการจัดอุปกรณ์ความปลอดภัยไว้ดังนี้ 1. จัดให้มีหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะโดยสารไว้สำหรับให้คนโดยสารสวมขณะโดยสาร โดยจะต้องรักษาความสะอาดของหมวกอยู่เสมอ 2. ต้องให้คนโดยสารขึ้นนั่งประจำที่ให้พร้อมก่อนเคลื่อนรถ 3. ไม่บรรทุกสิ่งของไปกับคนโดยสาร เว้นแต่เป็นสัมภาระของคนโดยสารที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการขับรถและการโดยสาร 4. ไม่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องมือหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นใดในขณะขับรถรับจ้างบรรทุกโดยสาร และ 5 ดูแลคนโดยสารให้ได้รับความปลอดภัยตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการโดยสาร และในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจะต้องให้ความช่วยเหลือตามสมควรประภัตร ย้ำ