ร่วมงานกับเรา
ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ > ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ประจำปี 2549
ปิดยอดขายรถ 2 ล้อปี 49 ลดลง 2%
ที่มา - ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 31 .ค.50

นายธีระพัฒน์ จิวะพงศ์ กรรมการบริหาร บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด รายงานสรุปยอดการจำหน่ายรถยนต์รวมในปีที่ผ่านมา ทุกยี่ห้อ 2,061,610 คัน เติบโตลดลงจากปีที่แล้ว 2% หรือ 41,937 คัน โดยฮอนด้ายังคงรักษาความเป็นผู้นำตลาดรถจักรยานยนต์ อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 18 ด้วยยอดจำหน่าย 1,335,104 คัน มีส่วนแบ่งการตลาดถึง 65%

ยอดขายรถจักรยานยนต์ปี 2549 เปรียบเทียบกับปี 2548

อันดับ
ยี่ห้อ
ปี 2549
ปี 2548
49/48
จำนวน (คัน)
%
จำนวน (คัน)
%
%
1
ฮอนด้า
1,335,104
65
1,401,240
67
95
2
ยามาฮ่า
475,823
23
390,518
19
122
3
ซูซูกิ
205,302
10
196,419
9
105
4
ไทเกอร์
13,863
1
67,418
3
21
5
คาวาซากิ
10,404
1
28,181
1
37
6
เจอาร์ดี
6,025
0
12,156
1
50
7
แพล็ททินั่ม
5,167
0
1,989
0
-
8
อื่นๆ
9,922
0
5,896
0
168
  รวม
2,061,610
100
2,103,547
100
98


หากแบ่งเป็นยอดจำหน่ายรถแต่ละประเภท ตลาดใหญ่อันดับหนึ่งรถแบบครอบครัวที่ครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด 56% มียอดจำหน่ายรวม 1,149,242 คัน ลดลงจากปีที่แล้ว 30% อันดับสองเป็นรถแบบเอทีที่ครองส่วนสัดส่วนตลาด 38% มียอดจำหน่ายรวม 790,319 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 256% นอกนั้นเป็นรถสปอร์ตและแฟมิลี่สปอร์ตประมาณ 6% หรือเทียบเท่าจำนวน 122,006 คัน

ยอดขายรถจักรยานยนต์ปี 2549 เปรียบเทียบกับปี 2548

อันดับ
ยี่ห้อ
ปี 2549
ปี 2548
จำนวน (คัน)
%
จำนวน (คัน)
%
1
รถครอบครัว
1,149,242
56
1,642,576
78
2
รถสกู๊ตเตอร์
790,319
38
311,143
15
3
รถสปอร์ตและแฟมิลี่สปอร์ต
122,006
6
149,337
7


จากการวิเคราะห์สภาพการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในปี 2549 ลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากสภาวะการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และการเกษตร โดยเฉพาะภาคเกษตรเมื่อรายได้หลักถูกกระทบกำลังซื้อก็ถดถอย จึงเกิดการชะลอซื้อรถจักรยาน ยนต์ ทำให้การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวซึ่งเป็นรถของคนส่วนใหญ่ที่ใช้ได้ทั้งครอบครัวมีสัดส่วนลดลงมากถึง 30% ซึ่งรถยอดนิยมอันดับหนึ่งในกลุ่มรถครอบครัวคือ ฮอนด้าเวฟ สามารถทำยอดจำหน่ายได้ ถึง 638,809 คัน

ขณะที่รถแบบเอทีที่เหมาะกับการใช้งานในเมืองเป็นที่นิยมของวัยรุ่นแต่มีราคาที่สูงกว่า ได้กลายเป็นทางเลือกใหม่ของกลุ่มมีกำลังซื้อ ซึ่งอาศัยอยู่ในเมือง และเลือกใช้รถจักรยานยนต์เพราะประหยัดน้ำมันมากกว่าการใช้รถยนต์ ประกอบกับหลายค่ายผู้ผลิต ได้แนะนำรถจักรยานยนต์แบบเอทีรุ่นใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง จากจำนวนเพียง 3 รุ่นในปี 2548 เพิ่มเป็น 7 รุ่น ในปี 2549 ทำให้รถประเภทนี้มีการเติบโตจากปีก่อนมากถึง 256% และรถยอดนิยมอันดับหนึ่งคือฮอนด้า คลิก โดยมียอดจำหน่าย 254,424 คัน จากการจำหน่ายเพียง 11 เดือนหลังเปิดตัวเดือนกุมภาพันธ์ ปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม หากหันมามองตัวเลขจดทะเบียนป้ายวงกลมใหม่ของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในปี 2549 มีตัวเลขรวม 1,926,803 คัน ซึ่งไม่ตรงกับยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่แจ้งไว้ดังกล่าวข้างต้นนั้น นายธีระพัฒน์ ชี้แจ้งว่า ตัวเลข 1,926,803 คัน ถือเป็นยอดจำหน่ายจริงจากร้านผู้จำหน่ายถึงผู้ใช้และมีการจดทะเบียนป้ายวงกลม โดยส่วนต่างที่เกิดขึ้นจากตัวเลขแจ้งย้ายที่ 2,061,610 คัน กับตัวเลขจดทะเบียนวงกลมที่ 1,926,803 คัน นั้น ส่วนหนึ่งเป็นตัวเลขสต๊อกคงเหลือที่หน้าร้ายผู้จำหน่ายฯ และอีกส่วนเป็นตัวเลขการแจ้งย้ายข้ามจังหวัด ซึ่งอาจมีการซ้ำซ้อน

ฮอนด้าคาดการณ์ว่า ตลาดรถจักรยานยนต์ไทยถ้ามองจากสถิติการจดทะเบียนป้ายวงกลม ซึ่งเป็นตัวเลขที่ผู้ใช้รถใหม่จดทะเบียนใช้จริง ในพื้นที่คงมีจำนวนใกล้เคียงกับปีที่แล้วคือ 190,000 คัน โดยฮอนด้าตั้งเป้ายอดจดทะเปียนวลกลมในปีนี้ไว้ 1,300,000 คัน