ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยเป็นตลาดที่ใหญ่ตลาดหนึ่ง ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ตลาดรถจักรยานยนต์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์สูงขึ้นโดยตลอด จาก 603,966 คัน ในปี 2542 เป็น 2,039,394 คันในปี 2547 มีการขยายตัวไม่น้อยกว่า 15% ต่อปี และคาดหมายกันว่าในปี 2548 จะมีอัตราการขยายตัวไม่น้อยกว่า 8% จากตลาดรถจักรยานยนต์ปี 2547 กล่าวคือในปี 2548 น่าจะมียอดจำหน่ายประมาณ 2.2 – 2.3 ล้านคัน
หน่วย
: คัน |
2541 |
2542 |
2543 |
2544 |
2545 |
2546 |
2547 |
ยอดขาย | 626,806 |
603,966 |
783,716 |
907,160 |
1,332,744 |
1,766,860 |
2,039,394 |
Growth Rate (%) | -3.64 |
29.76 |
15.75 |
46.91 |
32.57 |
15.42 |
สิ่งที่ทำให้รถจักรยานยนต์ในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตอย่างมากนั้น เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์และโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศเอื้ออำนวย
โดยเฉพาะทางด้านภูมิศาสตร์ ประเทศไทยมีประชากรกว่า 65 ล้านคน มีพื้นที่เป็นที่ราบเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่เส้นทางคมนาคมยังพัฒนาไม่ทั่วถึง
รถจักรยานยนต์จึงกลายเป็นพาหนะที่สะดวกที่สุด นอกจากนี้ในเขตเมือง เช่น กรุงเทพฯ
หรือจังหวัดใหญ่ๆ ซึ่งการจราจรติดขัด ประชาชนจำนวนมากนิยมใช้รถจักรยานยนต์เพื่อความรวดเร็วในการเดินทาง
สำหรับตลาดประเทศไทย รถจักรยานยนต์ถูกผูกขาดโดยบริษัทญี่ปุ่น 4 ยี่ห้อ คือ ยามาฮ่า, ฮอนด้า, คาวาซากิ, และซูซูกิ โดยเริ่มเข้ามาวางตลาดในประเทศไทยเมื่อ 30 ปีก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้รถจักรยานยนต์ที่รู้จักกันส่วนใหญ่มาจาก ยุโรป ไม่ว่าจะเป็นไทรอัมพ์ หรือ บีเอ็มดับบลิว แต่ด้วยความที่ญี่ปุ่นมีราคาถูก ได้รับการพัฒนาสินค้าในรูปแบบใหม่ และมีขนาดเหมาะสมกับสรีระชาวไทย ทำให้ประสบความสำเร็จในประเทศไทยเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
ปัจจุบันตลาดจักรยานยนต์มีการแข่งขันค่อนข้างสูงระหว่างผู้ผลิตรายใหญ่ โดยมีผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ เข้ามาช่วงชิงตลาดด้วย ได้แก่ ไทเกอร์ และ เจ อาร์ ดี ในจำนวนผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้ง 6 รายนี้ ช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดที่มีมูลค่าเฉลี่ยสูงกว่า 75,000 ล้านบาท โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมายี่ห้อจักรยานยนต์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด คือ ฮอนด้า ส่วนลำดับที่สอง เป็นการช่วงชิงกันระหว่าง ซูซูกิ กับ ยามาฮ่า ส่วนอันดับที่สี่คือ ไทเกอร์ คาวาซากิ และ เจ อาร์ ดี เป็นอันดับสุดท้าย ในปี 2547 จากยอดขายในประเทศทั้งสิ้น 2,039,394 คัน สามารถแบ่งเป็นสัดส่วนตามยี่ห้อต่างๆ ดังนี้
ยี่ห้อรถ | HONDA |
YAMAHA |
SUZUKI |
TIGER |
KAWASAKI |
JRD
& OTHERS |
Total |
เปอร์เซ็นต์ | 70 |
14 |
12 |
2 |
1 |
1 |
100 |
ส่วนยอดขายรถจักรยานยนต์ ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร ตลาดรถจักรยานยนต์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์สูงขึ้นโดยตลอด จาก 70,365 คัน ในปี 2541 เป็น 304,926 คันในปี 2547 มีการขยายตัวเฉลี่ย 28.7% ต่อปี และคาดหมายกันว่าในปี 2548 จะมีอัตราการขยายตัวไม่น้อยกว่า 8% ต่อปี เช่นเดียวกับตลาดรถจักรยานยนต์ทั่วประเทศ
ตลาดรถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร
หน่วย
: คัน |
2541 |
2542 |
2543 |
2544 |
2545 |
2546 |
2547 |
ยอดขาย | 70,365 |
87,770 |
108,109 |
134,216 |
210,891 |
248,606 |
309,926 |
Growth Rate (%) | 24.74 |
23.17 |
24.15 |
57.13 |
17.88 |
24.67 |
รถจักรยานยนต์ที่จำหน่ายในประเทศไทยนั้น แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ รถครอบครัว รถครอบครัวกึ่งสปอร์ต และรถสปอร์ต ซึ่ง รถครอบครัว มีสัดส่วนการจำหน่ายสูงสุด ในสัดส่วนประมาณ 92% รองลงมาเป็น รถครอบครัวกึ่งสปอร์ต มีสัดส่วนประมาณ 7% ส่วน รถสปอร์ต มีสัดส่วนน้อยที่สุด คือประมาณ 1% (ตัวเลขในปี 2547)
และจากการมองแนวโน้มด้านพฤติกรรมของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในประเทศ มีการปรับเปลี่ยนความนิยมเป็นรถประเภทรถครอบครัว
เพราะเป็นรถที่สะดวกและเหมาะกับลักษณะการใช้งาน อีกทั้งเป็นรถที่มีความประหยัดมาก
คาดว่ารถประเภทรถครอบครัว ยังคงมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประมาณการกันว่าสัดส่วนน่าจะเกินกว่า 90% อย่างแน่นอน
โดยในปัจจุบันนี้มีการเพิ่มประเภทของรถจักรยานยนต์ใหม่อีก 1 ประเภท คือ รถแบบสกู๊ตเตอร์ โดยในปี 2547 รถประเภทสกู๊ตเตอร์เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น
โดยสรุปแล้วตลาดรถจักรยานยนต์จะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตอยู่ และจากสภาพการจราจรในปัจจุบันจะเป็นตัวกระตุ้นให้ความต้องการรถจักรยานยนต์เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยผู้อยู่ในฐานะที่พอจะซื้อรถจักรยานยนต์ได้แต่ยังไม่ถึงขั้นซื้อรถยนต์ โดยจะหันมาซื้อรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นแม้ว่าความเสี่ยงในการขับขี่จะสูง แต่ยังคงให้ความสะดวกมากกว่าการใช้บริการขนส่งมวลชนของรัฐ