ยอดขายมอเตอร์ไซค์ 47 ทะลุ 2 ล้านคัน > รถสกู๊ตเตอร์มาแรง คาดปีนี้ก้าวขึ้นสู่ 2.4 ล้านคัน
ที่มา – MOTORING นสพ.ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 23-26 ม.ค.48
ยอดขายรถมอเตอร์ไซด์ปี 2547 ทะลุหลัก 2 ล้านคัน ขยายตัว 15% ขณะที่ตลาดพลิกผัน ยามาฮ่า แย่งแชร์ขึ้นสู่เบอร์สองแซงหน้าซูซูกิ ขณะที่เจ้าตลาดฮอนด้า ส่วนแบ่งลดไป 1% ไทเกอร์มอเตอร์ไซค์สายพันธุ์ไทยยังคงทิ้งห่างคาวาซากิรถสายพันธุ์ญี่ปุ่น คาดปี 2548 ยอดขายพุ่งสู่ 2.4 ล้านคัน รถสกู๊ตเตอร์มาแรง
รายงานยอดขายจากบริษัท เอ.พี.ฮอนด้าเปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในปี 2547 ที่ผ่านมาตัวเลขยอดขายรถจักรยานยนต์ทุกประเภทนั้นสามารถทำสถิติใหม่ด้วยยอดขายสูงถึง 2,039,394 คัน โดยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ที่ผ่านมาซึ่งมียอดขาย 1,766,860 คัน คิดเป็นจำนวน 15% โดยในจำนวนดังกล่าวนั้นเกือบทั้งหมดเป็นรถจักรยานยนต์ประเภท 4 จังหวะ ขณะที่รถจักรยานยนต์ประเภท 2 จังหวะนั้นมีจำนวนเพียง 3,418 คันเท่านั้น ทั้งนี้สาเหตุหลักที่จำนวนยอดขายรถ 2 จังหวะมีน้อยมาก เนื่องจากผลจากนโยบายส่งเสริมของรัฐบาลในด้านการลดมลพิษไอเสีย อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาของรถประเภท 4 จังหวะมีน้อยกว่า ผู้ผลิตมีการผลิตเพื่อส่งออกขายในตลาดจำนวนมาก ดังนั้นคาดว่าภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ ยอดขายรถประเภทนี้จะค่อยๆ หายไปจากตลาดในที่สุด
ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ประจำปี 2547 ในเดือนต่างๆ
(ยอดรวมทั้งปี = 2,039,394 คัน)
เดือน |
ม.ค. |
ก.พ. |
มี.ค. |
เม.ย. |
พ.ค. |
มิ.ย. |
ยอดขาย
(คัน) |
159,950 |
168,847 |
192,965 |
148,321 |
182,614 |
178,880 |
เดือน |
ก.ค. |
ส.ค. |
ก.ย. |
ต.ค. |
พ.ย. |
ธ.ค. |
ยอดขาย
(คัน) |
163,280 |
144,409 |
149,535 |
161,232 |
200,865 |
188,496 |
สำหรับรถจักรยานยนต์ยี่ห้อที่สามารถทำยอดขายได้มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในตลาดได้แก่ ฮอนด้า ด้วยจำนวนตัวเลข 1,422,164 คัน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 70% โดยมีสัดส่วนลดลงจากปีที่ผ่านมา 1% และมีอัตราการเติบโตคิดเป็น 13% เมื่อเทียบกับปี 2546
อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในตลาดรถจักรยานยนต์ในปีที่ผ่านมาก็คือ ยอดขายรถจักรยานยนต์ยี่ห้อ ยามาฮ่า สามารถก้าวขึ้นสู่อันดับสองของตลาดแทนที่ซูซูกิ ด้วยยอดขาย 284,057 คัน โดยมีส่วนแบ่งตลาด 14% ทิ้งห่างจาก ซูซูกิ ซึ่งมียอดขาย 253,522 คัน ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด 12% และยามาฮ่าเป็นรถจักรยานยนต์เพียงยี่ห้อเดียวที่มีอัตราการเติบโต 50% สูงสุดมากกว่าอัตราการเติบโตของตลาดรวม ส่วนซูซูกิมีอัตราการเติบโต 8%
นอกจากนี้ในส่วนของรถจักรยานยนต์ ไทเกอร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตไทยก็ยังคงมีส่วนแบ่งเป็นอันดับที่ 4 เป็นปีที่สองอย่างต่อเนื่อง มียอดขาย 42,214 คัน มากกว่า คาวาซากิ ซึ่งมียอดขาย 24,148 คัน แต่รถทั้งสองยี่ห้อมียอดขายเติบโตในอัตราถดถอยเมื่อเทียบกับปี 2546 จำนวน 7% และ 23% ตามลำดับ สำหรับ เจอาร์ดี รถจักรยานยนต์สัญชาติมาเลเซียนั้นมียอดขายเป็นอันดับ 6 ด้วยยอดขาย 11,715 คัน ส่วนแบ่งตลาด 1% เติบโตลดลง 7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ยอดขายรถจักรยานยนต์ ประจำปี 2547 (แยกตามยี่ห้อ)
อันดับ |
ยี่ห้อ |
ยอดขาย
(คัน) |
ส่วนแบ่งตลาด |
เปลี่ยนแปลง* |
1 |
ฮอนด้า |
1,422,164 |
70% |
-1% |
2 |
ยามาฮ่า |
284,057 |
14% |
+50% |
3 |
ซูซูกิ |
253,522 |
12% |
+8% |
4 |
ไทเกอร์ |
42,214 |
2% |
-7% |
5 |
คาวาซากิ |
24,148 |
1% |
-23% |
6 |
เจอาร์ดี |
11,715 |
1% |
-7% |
7 |
อื่นๆ |
1,574 |
0% |
- |
รวม |
2,039,394 |
- |
- |
ด้านยอดขายรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2547 ที่ผ่านมานั้นพบว่า รถจักรยานยนต์ประเภท ครอบครัว ยังคงเป็นอันดับหนึ่งด้วยยอดขาย 156,823 คัน อันดับสอง รถครอบครัวกึ่งสปอร์ต 15,742 คัน ใกล้เคียงกับยอดขาย รถสกู๊ตเตอร์ 14,538 คัน และรถสปอร์ต มียอดขายเพียง 1,393 คัน
ยอดขายรถจักรยานยนต์ประจำปี 2547 (แยกตามประเภทรถ)
ประเภท |
จำนวน
(คัน) |
รถครอบครัว | 156,823 |
รถครอบครัวกึ่งสปอร์ต | 15,742 |
รถสกู๊ตเตอร์ | 14,538 |
รถสปอร์ต | 1,393 |
รวม |
188,496 |
ทั้งนี้คาดการณ์ว่าตลาดรถจักรยานยนต์ในปี 2548 นี้จะมียอดขายรวมราว 2.4 ล้านคัน และการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อจะทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการเจาะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าระดับล่าง ซึ่งดำเนินต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา โดยจะเน้นเงื่อนไขทางด้านดอกเบี้ยและการส่งเสริมการขายมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ผลิตรถจักรยานยนต์บางรายคาดการณ์ว่ายอดจำหน่ายในปีนี้จะมีอัตราการเติบโตไม่หวือหวาเท่ากับปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ทำให้ยอดขายเติบโตแบบชะลอตัวเมื่อเทียบกับในอดีต
ส่วนรถจักรยานยนต์ที่คาดการณ์ว่าในปีนี้ผู้ผลิตจะให้ความสนใจกับรถจักรยานยนต์ประภทสกู๊ตเตอร์มากขึ้น เนื่องจากเป็นรถประเภทใหม่ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ และจะมีการแนะนำเปิดตัวรถประเภทนี้ลงสู่ตลาดหลากรุ่น