ยอดรถมอเตอร์ไซด์ 3 เดือนแรกอืด เติบโตแค่ 1% ขณะที่บรรดาค่ายรถตั้งเป้าเติบโตตลอดทั้งปีถึง 10% พร้อมเตรียมขยายโรงงานรองรับตลาด เผยเหตุจากปัจจัยลบจากเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ และสถานการณ์เศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ไทเกอร์แชมป์ขยายตัวมากสุด ส่วนยามาฮ่าโต 9% ขณะที่ค่ายอื่นล้วนแต่แป๊ก
ยอดขายรถจักรยานยนต์ระหว่างเดือนม.ค.-มี.ค. 2547/2548
เดือน |
มกราคม |
กุมภาพันธ์ |
มีนาคม |
รวม |
||||
ปี |
'48 |
'47 |
'48 |
'47 |
'48 |
'47 |
'48 |
'47 |
จน.คัน |
171,238 |
159,950 |
167,381 |
168,847 |
186,819 |
192,965 |
525,438 |
521,762 |
รายงานยอดขายรถจักรยานยนต์ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2548 (มกราคม-มีนาคม) จากบริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด พบว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวรถจักรยานยนต์ทุกยี่ห้อสามารถทำยอดขายรวมกันได้จำนวน 525,438 คัน ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ที่มียอดขาย 521,762 คัน
ทั้งนี้ได้มีการวิเคราะห์กันว่าการที่ยอดขายรถจักรยานยนต์ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนแรกลดลงนั้น อันเนื่องมาจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องของผลจากการที่ราคาน้ำมันได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นและส่งผลด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภค ขณะเดียวกันเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้และผลสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงในเดือนมีนาคมนั้นเป็นช่วงที่ผู้บริโภคได้ชะลอการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ออกไป เพื่อรอแคมเปญและรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ในช่วงงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้บรรดาผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ต่างได้คาดหวังว่ายอดขายรถจักรยานยนต์ในปีนี้คาดว่าจะมีการเติบโตประมาณ 10% เมื่อเทียบกับปี 2547 ซึ่งมีการเติบโตของยอดขายค่อนข้างสูง และหลายบริษัทได้มีการเตรียมแผนการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตรถจักรยานยนต์เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดไว้
สำหรับรถจักรยานยนต์ ฮอนด้า นั้น สามารถทำยอดขายได้เป็นอันดับหนึ่งในช่วง 3 เดือนแรกด้วยจำนวน 364,973 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 69% และมีอัตราการเติบโตลดลง 1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา อันดับสอง ยามาฮ่า มียอดขาย 73,108 คัน ส่วนแบ่งตลาด 14% เติบโตเพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อันดับสาม ซูซูกิ จำนวน 61,707 คัน ส่วนแบ่งตลาด 12% มีอัตราการเติบโตลดลง 9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อันดับสี่ ไทเกอร์ ยอดขาย 16,038 คัน ส่วนแบ่งตลาด 3% มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกยี่ห้อถึง 113% และอันดับห้า คาวาซากิ ยอดขาย 5,454 คัน ส่วนแบ่งตลาด 1% มีอัตราการเติบโตลดลง 9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่วน เจอาร์ดี นั้นมียอดขายเพียง 1,886 คัน และรถจักรยานยนต์ ยี่ห้ออื่นๆ อีกจำนวน 2,272 คัน รวมทั้งสิ้น 3 เดือนแรกสามารถทำยอดขายได้ 525,438 คัน
ยอดขายรถจักรยานยนต์ประจำปี 2548 (ม.ค.-มี.ค.)
อันดับ |
ยี่ห้อ |
ยอดขาย |
ส่วนแบ่งตลาด |
เพิ่ม/ลด* |
1 |
ฮอนด้า |
364,973 |
69% |
-1% |
2 |
ยามาฮ่า |
73,108 |
14% |
9% |
3 |
ซูซูกิ |
61,707 |
12% |
-9% |
4 |
ไทเกอร์ |
16,038 |
3% |
113% |
5 |
คาวาซากิ |
5,454 |
1% |
-9% |
6 |
เจอาร์ดี |
1,886 |
- |
- |
7 |
อื่นๆ |
2,272 |
- |
- |
รวม |
525,438 |
ด้านยอดขายในเดือนมีนาคม 2548 นั้นพบว่า ยอดขายรถจักรยานยนต์แบบ ครอบครัว ยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดด้วยตัวเลข 154,756 คัน ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 8% รถจักรยานยนต์ประเภท สกู๊ตเตอร์ มีจำนวน 16,587 คัน เติบโตเพิ่มขึ้น 3% และรถครอบครัวกึ่งสปอร์ต มีจำนวน 14,208 คัน เติบโตเพิ่มขึ้นมากที่สุด 99% ส่วนรถจักรยานยนต์ สปอร์ต นั้นมีส่วนแบ่งตลาดน้อยที่สุด และมีอัตราการเติบโตน้อยที่สุดในเดือนมีนาคม โดยมียอดขาย 1,273 คัน เติบโตลดลง 23% เมือ่เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ยอดขายรถจักรยานยนต์
ประจำเดือนมีนาคม 2548