ยอดขายมอเตอร์ไซค์ 5 เดือนแรก ฮอนด้า ยังกอดแชมป์ไว้แน่น 5 แสนกว่าคัน พร้อมปล่อยไม้เด็ดส่งรถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดเฉลี่ยเดือนละรุ่น มั่นใจขายรถตระกูลเวฟเดือนละ 30,000 คัน ปล่อยให้ ยามาฮ่า และ ซูซูกิ วิ่งตามแบบหืดขึ้นคอ
รายงานข่าวกรมการขนส่งทางบกเปิดเผย ยอดการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-พ.ค.) พบว่า ฮอนด้า ยังคงครองแชมป์อันดับหนึ่งด้วยยอดการจำหน่ายรวม 596,013 คัน มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 70% ของตลาด อันดับ 2 ได้แก่ ค่าย ยามาฮ่า ซึ่งมียอดการจำหน่ายอยู่ที่ 120,134 คัน คิดเป็น 14% ของตลาดรวม อันดับ 3 ซูซูกิ ซึ่งมียอดการจำหน่ายอยู่ที่ 92,724 คัน คิดเป็น 11% ของตลาดรวม
อันดับ 4 ไทเกอร์ มียอดการจำหน่ายอยู่ที่ 29,604 คัน คิดเป็น 3% ของตลาดรวม 5 ค่าย คาวาซากิ ซึ่งมียอดการจำหน่ายอยู่ที่ 9,455 คัน คิดเป็น 1% ของตลาดรวม 6 เจอาร์ดี มียอดการจำหน่ายอยู่ที่ 3,669 คัน และค่ายอื่นๆ อีก 3,173 คัน รวม 854,672 คัน
ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ประจำปี 2548
ผลิตภัณฑ์ |
ฮอนด้า |
ยามาฮ่า |
ซูซูกิ |
ไทเกอร์ |
คาวาซากิ |
เจอาร์ดี |
อื่นๆ |
รวม |
|
ม.ค.
|
จ.น. |
118,364 |
24,519 |
20,689 |
4,938 |
1,467 |
581 |
680 |
171,238 |
% |
69 |
14 |
12 |
3 |
1 |
0 |
0 |
. |
|
ก.พ.
|
จ.น. |
118,948 |
23,886 |
17,145 |
5,162 |
1,414 |
547 |
279 |
167,381 |
% |
71 |
14 |
10 |
3 |
1 |
0 |
0 |
. |
|
มี.ค.
|
จ.น. |
129,184 |
24,948 |
23,907 |
6,558 |
2,587 |
816 |
880 |
188,880 |
% |
68 |
13 |
13 |
3 |
1 |
0 |
0 |
. |
|
เม.ย.
|
จ.น. |
84,830 |
21,330 |
14,448 |
7,217 |
2,006 |
816 |
490 |
131,137 |
% |
65 |
16 |
11 |
6 |
2 |
1 |
0 |
. |
|
พ.ค. |
จ.น. |
144,687 |
25,351 |
16,535 |
5,729 |
1,981 |
909 |
844 |
196,036 |
% |
74 |
13 |
8 |
3 |
1 |
0 |
0 |
. |
|
รวม
|
จ.น. |
596,013 |
120,034 |
92,724 |
29,604 |
9,455 |
3,669 |
3,173 |
854,672 |
% |
70 |
14 |
11 |
3 |
1 |
0 |
0 |
. |
|
ม.ค.-
พ.ค. 47 |
จ.น. |
604,876 |
110,063 |
106,724 |
13,306 |
11,174 |
6,020 |
534 |
852,697 |
% |
71 |
13 |
13 |
2 |
1 |
1 |
0 |
. |
|
48/47 |
% |
99 |
109 |
87 |
222 |
85 |
61 |
594 |
100 |
รายงานข่าวแจ้งต่อไปว่า รถจักรยานยนต์รุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุด 10 อันดับ ได้แก่
อันดับ |
ยี่ห้อ-รุ่น |
ยอดขาย |
1 |
ฮอนด้าเวฟ 100 | 323,432 |
2 |
ฮอนด้าเวฟ 125 อาร์ | 129,849 |
3 |
ยามาฮ่า มีโอ | 57,114 |
4 |
ซูซูกิ สแมซ จูเนียร์ | 53,475 |
5 |
ฮอนด้า เวฟ 125 เอส | 25,731 |
6 |
ฮอนด้า เวฟ แซด | 33,818 |
7 |
ฮอนด้า ดรีม 125 | 25,119 |
8 |
ฮอนด้า โนวา โซนิค | 33,550 |
9 |
ฮอนด้า เวฟ 125 ไอ | 28,868 |
10 |
ยามาฮ่า นูโว | 21,511 |
ส่วนยอดเฉพาะเดือนพฤษภาคมพบว่า
ค่าย ฮอนด้า ยังครองใจผู้บริโภคชาวไทยด้วยสัดส่วนการขายสูงสุดเป็นอันดับ 1 รวม 144,687 คัน มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 74% ของตลาด
อันดับ 2 ได้แก่ ค่าย ยามาฮ่า ซึ่งมียอดการขาย 25,351 คัน คิดเป็น 13% ของตลาดรวม อันดับ 3 ซูซูกิ ซึ่งมียอดขาย 16,535 คัน คิดเป็น 8% ของตลาดรวม อันดับ 4 ไทเกอร์ มียอดขาย 5,729 คัน คิดเป็น 3% ของตลาดรวม อันดับ 5 ค่าย คาวาซากิ ซึ่งมียอดขาย 1,981 คัน คิดเป็น 1% ของตลาดรวม อันดับ 6 เจอาร์ดี มียอดขาย 909 และค่ายอื่นๆ อีก 844 คัน รวม 196,036 คัน
นายเชี่ยวชาญ รุ่งทวีสุข ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขาย เปิดเผยว่า ภายในระยะเวลา 5 เดือนแรกของปี บริษัทสามารถขายรถจักรยานยนต์ทุกรุ่นได้ถึง 600,000 คัน อัตราการเติบโตลดลง 1% แต่ทั้งนี้บริษัทมั่นใจว่าจะสามารถครองความเป็นรถจักรยานยนต์ยอดนิยมได้อย่างแน่นอน
สาเหตุที่ตลาดรถจักรยานยนต์ฮอนด้าโตขึ้นมาจากการเข้ามาของบริษัทสินเชื่อจากต่างประเทศ ที่เข้ามาจับกลุ่มของตลาดรถมอเตอร์ไซค์มากขึ้น โดยจูงใจด้วยการดาวน์น้อย ทำให้มีการซื้อขายที่สะดวกและเพิ่มขึ้นอย่างมาก สำหรับผลกระทบเรื่องปัญหาด้านเศรษฐกิจ และสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ทุกบริษัทได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด แต่ ฮอนด้า โชคดีที่มีตลาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้ามารองรับแทน
ส่วนผลกระทบเรื่องของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นนั้น ฮอนด้า ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจาก ฮอนด้า ถือเป็นรถจักรยานยนต์ที่ผู้ใช้มองถึงความประหยัดอยู่แล้ว ส่งผลให้มีการขายดีเพิ่มขึ้น อีกทั้งเชื่อว่าเมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้นประชาชนส่วนใหญ่จะเลิกใช้รถยนต์และหันกลับมาใช้รถจักรยานยนต์แทน
ล่าสุด ฮอนด้า ได้ส่งรุ่น ฮอนด้าเวฟ 125 อาร์ใหม่ รถครอบครัว 4 จังหวะ รุ่นไมเนอร์เชนจ์ออกสู่ตลาด โดยตั้งเป้าขายไว้ที่ 10,000-12,000 คันต่อเดือน หรือตั้งเป้ายอดขายของรถในตระกูลเวฟ ไว้ที่ 30,000 คันต่อเดือน ส่วนยอดขายที่บริษัทตั้งเป้าไว้ที่ 1.5 ล้านคันโต 7% บริษัทมั่นใจว่าจะสามารถเป็นไปถึงเป้าที่ตั้งไว้ได้อย่างแน่นอน เนื่องจากบริษัทได้มีการสำรวจจากตัวแทนจำหน่ายกว่า 800 แห่งทั่วประเทศ พบว่าความต้องตลาดยังมีความต้องการค่อนข้างสูง
ทั้งนี้ นายเชี่ยวชาญมองว่า ตลาดรวมของรถจักรยานยนต์จะยังคงมีแนวโน้มที่จะขยายตัวออกไปไม่น้อยกว่า 5 ปี จากนั้นอาจจะความต้องการของตลาดรถจักรยานยนต์จะลดลง แนวโน้มในอนาคตของตลาดรถจักรยานยนต์จะเริ่มมีการแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง ฮอนด้า ยังมีรถรุ่นใหม่อีก 3 รุ่นที่จะเปิดตัวภายในปีนี้ รุ่นไมเนอร์เชนจ์ฮอนด้าดรีม 1 รุ่น และโมเดลใหม่อีก 2 รุ่นออกสู่ตลาด
ด้านนายเลิศศักดิ์ รัตนวิมาน ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขาย และการตลาด บริษัท ไทยซูซุกิมอเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า จากยอดขายรถจักรยานยนต์ ซูซูกิ ในช่วงเดือนที่ 5 ถือว่า แม้เป็นยอดการจำหน่ายที่ไม่ดีเท่าที่ควร โดยสาเหตุไม่ใช่ปัญหาด้านการจำหน่ายอย่างแน่นอน ทั้งนี้บริษัทได้เตรียมส่งรุ่นจักรยานยนต์ 2 รุ่นใหม่ ออกสูงตลาด ซึ่งบริษัทมั่นใจว่าจะสามารถทำยอดจำหน่ายเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ 290,000 คันในปีนี้ หรือเฉลี่ยเดือนละ 60,000 คันต่อเดือน
"ส่วนการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ของค่ายเบอร์หนึ่งอย่าง ฮอนด้า ที่เปิดตัวเฉลี่ยเดือนละ 1 รุ่น และการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ของค่าย คาวาซากิ จะไม่ส่งผลกระทบต่อเป้าที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน เนื่องจากเราจะมีทีเด็ดออกมาให้ได้เห็นในเร็วๆ นี้ เชื่อว่าจะสามารถทำให้เราไปถึงเป้าที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน"