สองล้อไตรมาสแรกโต 9% สวนปัจจัยลบ
กรุงเทพธุรกิจ April 19, 2006 02:05
ตลาดรถจักรยานยนต์ไตรมาสแรก โตต่อเนื่อง 9% ด้วยยอดขายรวม 5.73 แสนคัน สวนกระแสการเมือง-น้ำมันแพง ด้านตลาดใหม่อย่างสกูตเตอร์ยังมีอนาคตไกล แบ่งแชร์ไป 28%
รายงานข่าวจาก บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด รายงานตัวเลขยอดการจำหน่ายรถจักรยานยนต์สำหรับตลาดในประเทศรวม ของไตรมาสที่ 1 (ม.ค.-มี.ค.2549) ที่ผ่านมา ว่า ตลาดยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีปัจจัยลบทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ การเมืองและน้ำมันเชื้อเพลิงราคาสูง โดยตลาดสามารถทำยอดจำหน่ายรวมได้ที่ 5.73 แสนคัน เติบโตขึ้น 9% จากปีก่อนหน้า
สำหรับค่ายที่จำหน่ายสูงสุดได้แก่ ฮอนด้า เป็นผู้นำตลาดด้วยยอดจำหน่าย 3.53 แสนคัน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 62% ยามาฮ่าตามมาเป็นอันดับ 2 ที่ 1.36 แสนคัน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 24% อันดับ 3 ซูซูกิ 67,762 คัน ครองส่วนแบ่ง 12% โดยมีไทเกอร์และคาวาซากิตามมาที่ค่ายละ 1%
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์รถจักรยานยนต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดนั้นยังคงเป็นรถครอบครัว โดยมีส่วนแบ่งตลาด 64% ที่ยอดขายรวมทุกค่าย 3.7 แสนคัน สกูตเตอร์ขับเคลื่อนด้วยระบบเกียร์อัตโนมัติ 28% ทำได้ 1.6 แสนคัน รถแฟมิลีสปอร์ต 7% คิดเป็นยอดขาย 39,832 คัน และสปอร์ต 1% คิดเป็นยอดขาย 5,498 คัน
ในส่วน 10 อันดับ รถจักรยานยนต์ยอดนิยม ได้แก่ 1.ฮอนด้า รุ่นเวฟ 100 ทำยอดขาย 1.93 แสนคัน 2.ยามาฮ่า รุ่นมีโอ ทำยอดขาย 82,231 คัน 3.ฮอนด้า เวฟ 125อาร์ ทำยอดขาย 48,797 คัน 4.ฮอนด้า คลิก ทำยอดขาย 27,898 คัน 5.ยามาฮ่า นูโว ทำยอดขาย 27,161 คัน 6.ซูซูกิ สแมช จูเนียร์ ทำยอดขาย 23,389 คัน 7.ฮอนด้า ดรีม ทำยอดขาย 20,132 คัน 8.ซูซูกิ สเตป ทำยอดขาย 18,822 คัน 9.ฮอนด้า เวฟ 125ไอ ทำยอดขาย 17,330 คัน และ 10.ฮอนด้า เวฟ 125เอส ทำยอดขาย 14,220 คัน
ในขณะที่นักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมจักรยานยนต์ กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มตลาดจักรยานยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ตลาดยังคงมีตัวเลขการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ในระดับที่ไม่หวือหวานัก โดยมีแรงหนุนจากกำลังซื้อแฝงบางส่วนที่อั้นมาในช่วงไตรมาสแรก ในขณะที่ตลาดใหม่คือ สกูตเตอร์ขับเคลื่อนด้วยระบบเกียร์อัตโนมัติ อยู่ในภาวะที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากความประหยัดของรถและรูปแบบที่ทันสมัย
สำหรับปัจจัยลบเรื่องราคาน้ำมันในไตรมาสที่ 2 ยังคงเป็นเรื่องดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งมีอิทธิพลต่อกำลังซื้อ ในขณะที่ มีความเข้มงวดของสถาบันการเงิน ในการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดรถจักรยานยนต์ที่มีความเคลื่อนไหวในเรื่องกิจกรรมการตลาดที่น่าตื่นเต้น เป็นตัวกำหนดทิศทางของดีมานด์ตลาดอีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะกิจกรรมโรดโชว์และการใช้การตลาดเชิงเสียงเพลงหรือมิวสิค มาร์เก็ตติ้ง ที่ค่ายผู้ผลิตรายใหญ่ อาทิ ฮอนด้า ยามาฮ่าและซูซูกิใช้กันอยู่ ยังสามารถกระตุ้นยอดขายได้อยู่ตลอดเวลา
ยอดขายรถจักรยานยนต์ประจำปี 2549 (ม.ค.-ก.พ.)
(แยกตามยี่ห้อ)
อันดับ |
ยี่ห้อ |
ม.ค.-ก.พ.49 |
|
จำนวน
(คัน) |
% |
||
1 |
ฮอนด้า |
222,600 |
62 |
2 |
ยามาฮ่า |
85,770 |
24 |
3 |
ซูซูกิ | 41,735 |
12 |
4 |
คาวาซากิ | 2,641 |
1 |
5 |
ไทเกอร์ | 2,436 |
1 |
6 |
เจอาร์ดี | 1,772 |
- |
7 |
แพล็ตตินัม | 1,208 |
- |
8 |
อื่นๆ | 1,360 |
- |
รวม | 359,522 |
100 |
อย่างไรก็ตามหากแบ่งยอดขายรถจักรยานยนต์ออกเป็นประเภทต่างๆ
นั้นจะพบว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ รถจักรยานยนต์ประเภทครอบครัวนั้นมียอดขายลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีทีผ่านมาราว 14% โดยมียอดขายลดลงจาก 279,121 คันในปีที่ผ่านมา
เหลือเพียง 240,125 คันในปีนี้ ขณะที่ตลาดรถสกู๊ตเตอร์นั้นมียอดขายเพิ่มขึ้น 186% จาก 30,403 คันในปีที่ผ่านมาเป็น 86,813 คันในปีนี้
ส่วนรถประเภทแฟมิลี่สปอร์ตและสปอร์ตนั้นก็มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยยอดขายรถแฟมิลี่สปอร์ตเติบโตขึ้น 10% มียอดขายรวม 28,408 คัน และรถสปอร์ตมียอดขาย 3,744 คันเพิ่มขึ้น 35% รถออฟโรดมียอดขาย 492 คัน ลดลง 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา
ยอดขายรถจักรยานยนต์ประจำปี 2549 (ม.ค.-ก.พ.)
(แยกตามประเภทรถ)
อันดับ |
ประเภท |
ม.ค.-ก.พ.49
|
ม.ค.-ก.พ.48 |
|
จำนวน
(คัน) |
+/-* |
จำนวน
(คัน) |
||
1 |
รถครอบครัว |
240,125 |
-14% |
279,121 |
2 |
รถสกู๊ตเตอร์ |
86,813 |
+186% |
30,403 |
3 |
รถครอบครัวกึ่งสปอร์ต |
28,408 |
10% |
|
4 |
รถสปอร์ต |
3,744 |
35% |
|
5 |
รถออฟโรด |
492 |
12% |
|
*
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา |
นายมาซาโตะ วาตานาเบ้ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยซูซูกิ มอเตอร์ จำกัด ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ ซูซูกิ กล่าวว่า
สำหรับยอดขายรถจักรยานยนต์ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 จนถึง กุมภาพันธ์ 2549 ตลาดรถจักรยานยนต์ไทยได้รับผลกระทบจากภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น อันสืบเนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น
และภาวะอัตราดอกเบี้ยสูงเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ รวมมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองและสังคม
ส่งผลให้ยอดขายรถจักรยานยนต์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาลดลงเล็กน้อย